วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทความสุขภาพ : ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และโรคลมหลับ

บทความสุขภาพ : ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง และโรคลมหลับ



      สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ เมื่อท่านทำงานหนักท่านมักมีอาการแบบนี้บ้างหรือไม่ ง่วงๆ ซึมๆ อาการลักษณะนี้อาจเกิดได้ครับเคสที่ว่า เกิดความเครีดยสะสมบวกกับกิจวัตรประจำวันที่ซ้ำซาก แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ว่าร่างกายคุณเริ่มมีอาการ "ผิดปกติ" ขึ้นแล้วละ (แอดมินก็เป็น) ไม่ให้เสียเวลาลองไปอ่านบทความกันดีกว่าครับ อยากรู้แล้วเหมือนกันว่าผิดปกติอย่างไร

      อาการข้างต้นนี้อาจไม่เลวร้ายถึงขั้นเป็น “โรค” แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจได้ เพราะคุณมีโอกาสตกอยู่ใน “ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง” หรือทางการแพทย์เรียกว่า ไฮโปไกลซีเมีย

      อาการดังกล่าวไม่ได้มีสาเหตุหรือเกิดจากสิ่งเร้าภายนอก หากแต่เกิดจากภายในตัวของคุณเองมูลเหตุที่นำมาซึ่งภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังคือ การดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ส่งผลให้ร่างกายมี “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน ศัพท์สากลเรียกภาวะนี้ว่า Chronic Fatigue Syndrome (CFS)

      อาการหลักๆ หรือสัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณกำลังเข้าสู่ CFS นั่นก็คือ เพลีย-หมดแรง ทั้งที่พักผ่อนเพียงพอ หรือนอนมาแล้วหลายชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นมาก็ไม่สดชื่น อยากนอนซ้ำอีก สมองคิดอะไรไม่ออก ตื้อ สับสน บางรายมีอาการปวดเมื่อย-ปวดเนื้อปวดตัว-ปวดหลัง หนักเข้าคือลุกขึ้นเดินแล้วการทรงตัวไม่ดี เป็นตะคริวบ่อย เท้าเย็น (แอดมินก็เป็นนะ ต่อครับต่อ)

      บ่อยครั้งที่คุณเกิดอาการ ก็จะพึ่ง “ความหวาน” โดยเชื่อว่าจะทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวยสดชื่นขึ้นดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟ หรือแม้แต่เครื่องดื่มชูกำลัง แต่นั่นคือ “ความเชื่อผิดๆ” เพราะยิ่งเราบริโภคความหวานเข้าสู่ร่างกายมาก ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะพุ่งขึ้นสูง ร่างกายก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลต่ำลง แต่แล้วคุณก็บริโภคหวานเข้าไปอีกตับอ่อนของคุณก็จะต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นและทำงานตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี

      ภาวะ CFS มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงานช่วงอายุราวๆ 25-45 ปี โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ชัดเจน แต่สามารถป้องกันได้โดยเฉพาะการ “หลีกเลี่ยงน้ำตาล” คือไม่ควรเพิ่มน้ำตาลเข้าไปในร่างกาย ผ่านการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

      นอกจากนี้ จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียดจนเกินไป ขณะเดียวกันต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองขณะนอนหลับ สำหรับอาหารที่ควรจะรับประทานเพิ่ม คืออาหารจำพวก "โปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม"

      อีกหนึ่งอาการที่มีระดับความรุนแรงจนกลายเป็น “โรค” คือการ “นอนหลับง่ายเกินไป” เรียกได้วjาหลับได้ทุกเวลา ทุกการกระทำ หลับกะทันหัน หลับทั้งยืน หลับขณะขับรถ หรือแม้กระทั่งหลับขณะมีเพศสัมพันธ์  โรคนี้เรียกว่า “ โรคลมหลับ” แม้จะยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ชี้ชัดว่าโรคดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นเพราะสารเคมีในสมองกลุ่มสารสื่อประสาท Hypocretin ผิดปกติ โดยโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

      ข้อมูลจาก รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า นายกสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยา ระบุว่า โรคลมหลับมี 4 อาการหลัก คือ 
1.ง่วงนอนฉบับพลัน วันๆ หนึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้ง
2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก ผล็อยหลับได้ทันที
3.อาการผีอำ
4.เห็นภาพหลอนขณะกำลังจะหลับ ส่วนใหญ่เป็นภาพที่น่ากลัวและรูปร่างประหลาด

      โรคลมหลับจะค่อยๆ มีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะแรกจะง่วงนอนในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนอาการจะเป็นมากขึ้น ต่อมาจะนอนไม่หลับในเวลากลางคืน และจะนอนหลับในช่วงกลางวันบ่อยขึ้น ในที่สุดอาการจะรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ คำแนะนำก็คือให้รีบพบแพทย์ตั้งแต่มีอาการระยะแรก





ขอบคุณที่เข้ามาชมเพจครับ
คำแนะนำหลังการอ่านจบบล็อค : เมื่อท่านอ่านจบบทความให้ท่านมองไปที่บริเวณที่มีสีเขียว จะลดความเมื่อยล้าดวงตาของท่านได้ (ถ้าอ่านแล้วถูกใจช่วยแชร์กันด้วยนะคร๊าบบ)
Facebook : Like Page
บทความดีดีเหล่านี้จาก : สสส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น