วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บทความสุขภาพ : โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)



บทความสุขภาพ : โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)



       สวัสดีครับนักอ่านทุกท่านครับ มีผู้อ่านหลายท่านในที่นี้ที่ทำงานออฟฟิศบ้างไหมครับ ถ้ามีหลายท่านคงเคยประสบกับอาการยอดฮิตเหล่านี้หรือไม่ครับ ปวดหัวไหล่ ปวดหลัง ปวดบ่า ปวดตา ปวดเอว ปวดขา/ปวดเขา มือชา และอาการปวดหัว ถ้ามีแสดงว่าคุณผู้อ่านกำลังเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม งั้นอย่าเสียเวลาเลยครับลองไปอ่านกันเลยดีกว่าว่าเกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไรบ้าง

       โรคออฟฟิศซินโดรม คือภาวะที่มักเกิดขึ้นกับคนทำงานตามออฟฟิศ หรือแม้แต่คนที่ทำงานอยู่กับบ้านก็ตาม โดยเกิดจากการทำงานหรือใช้ชีวิต นั่ง เดิน เคลื่อนไหวร่างกายในท่าทางอิริยาบถที่ไม่ถูกลักษณะผิดท่า ที่เหมาะที่ควรบ่อยครั้ง เป็นเวลานานๆ โดยอยู่ในท่าเดิมหลายชั่วโมง ซึ่งท่าทางลักษณะเหล่านี้จะทำให้มีอาการปวดเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกเกร็งเหมือนเนื้อถูกดึงรั้ง ที่น่ากลัว คือนานวันเข้าจากอาการแค่ปวดกล้ามเนื้อ อาจกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปวดเจ็บตามอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา ข้อมือ ไหล่ หลัง ซึ่งปวดมากหรือปวดน้อยก็แล้วแต่การสะสมโรค ขณะบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นสายตาพร่ามัว ตาแห้ง ระคายเคือง ปวดศรีษะ ปวดไมเกรน หรือบางรายมีอาการรุนแรงมากๆ ก็อาจทำให้มีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ เกิดกระดูกทับเส้นประสาทได้

อาการออฟฟิศซินโดรมที่พึงระวัง

1. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และ ไหล่
       หนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวดตึง บริเวณคอ บ่า และไหล่ บางรายอาจมีอาการปวดเกร็งจนอาจหันคอ ก้ม หรือ เงยไม่ได้ก็มี...ที่อาการเบาหน่อยก็อาจจะแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ และบริเวณสะบักหลัง หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้  ควรบำบัดด้วยการไปนวดคลายกล้ามเนื้อด่วนเลย อย่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะหากอาการหนักขึ้นจะบำบัดรักษายากขึ้นตามไปด้วย

2. อาการยกแขนไม่ขึ้น
       อาการนี้เกี่ยวเนื่องมาจากข้อแรก ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อตั้งแต่คอ บ่า ไหล่ และร้าวลงไปที่แขน จนเป็นเหตุให้ยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากว่ามีพังผืดมาเกาะที่บริเวสะบักและหัวไหล่นั้นเอง และบางรายอาจมีอาการชาไปที่มือหรือนิ้วมือด้วย.. ใครที่มีอาการแบบนี้ควรบำบัดด้วยการไปพบแพทย์แผนไทยกดจุด เพื่อทำการสลายพังผืด หรือประคบร้อนให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนที่เป็นพังผืดแข็งตึงให้อ่อนตัวและคลายความปวดลง อาการก็จะดีขึ้น

3. อาการปวดหลัง
       อาการนี้ถือว่าเป็นอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมเลยก็ว่าได้ เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันนานๆ หรืองานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณสาวๆ ทั้งหลายที่ต้องใส่ส้นสูงตลอดทั้งวัน ยิ่งเกิดอาการปวดหัลงได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำหรือการออกกำลังกาย ยิ่งเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำหรือการออกกำลังกายหักโหมเกินไปก็เป็นสาเหตุให้ปวดหลังได้เช่นกัน โดยอาจเกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก หรือปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จนบางรายอาจไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อบำบัดแก้ไขอาการเหล่านี้ให้หมดไป

4. อาการปวดขาและตึงที่ขา
       เกิดจากการนั่ง เดิน หรือ ยืนนานๆ จนทำให้ปวดตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั่วทั้งขา บางรายปวดร้าวไปที่เข่าและข้อเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานขาหนักทุกวัน จนเกิดอาการล้าสะสม ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข อาจทำให้เกิดอาหารปวดร้าวและอาการชาลงไปบริเวณเท้าและปลายนิ้วเท้าได้ หากมีอาการเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบทำการบำบัดโดยด่วน เพื่อทำการรักษาได้โดยเร็ว

5. อาการปวดศรีษะ
       ผู้ที่ทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดสะสม โดยไม่รู้ตัวจนทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้ บางรายอาจเกิดจากการทำงานหนักเกินไป หรือต้องเดินทางขึ้น-ลงตลอดเวลา เมื่อเกิดอาการปวดศรีษะมากขึ้น ส่วนใหญ่จะแก้ไขด้วยการทานยาแก้ปวด บางรายอาจทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาการปวดศรีษะก็จะหายไป(ชั่วคราว) และอาจกลับมาทวีความรุนแรงมากขึ้นอีก ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดศรีษะบ่อยๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และรีบทำการรักษาให้ทันเสียแต่เนิ่นๆ


การนั่งทำงานที่ผิดๆ






       หากคุณผู้อ่านนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ ควรพักสายตาและปรับเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นๆ บ้างเพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและรู้สึกไม่เครียดจนเกินไป เช่นเดินไปดื่นน้ำทุกๆ ครึ่งชั่วโมงเป็นต้นครับ



ขอบคุณที่รับชมบล็อคบทความดีดีนะครับ
คำแนะนำหลังการอ่านจบบล็อค : เมื่อคุณอ่านจบบทความเป็นเวลานานๆ ลองมองไปที่บริเวณที่มีสีเขียว หรือบริเวณต้นไม้ต่างๆ จะช่วยลดอาการเมื่อยล้าดวงตาของคุณได้นะครับ 
ถ้าบทความที่นำมามีประโยชน์ก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ เพจด้วยนะครับ จุ๊บๆ คุณผู้อ่านทุกท่านครับ
Facebook : Like Page
ขอบคุณบทความดีดีเหล่านี้จาก : natui
ภาพบทความประกอบบทควาจาก : ancbroker

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น